การซื้อขายที่ดินถือเป็นธุรกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง และเกี่ยวข้องกับขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ โดยหนึ่งในองค์ประกอบที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คือ ‘ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน’ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักที่เกิดขึ้น ณ วันที่ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดิน ดังนั้นผู้มีแผนจะทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ควรศึกษาข้อมูลล่าสุดจากกรมที่ดินในพื้นที่อย่างละเอียด
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน คือ ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระให้กรมที่ดินเพื่อการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากเจ้าของเดิมไปยังผู้รับโอน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย มอบให้ โอนเป็นมรดก หรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะถูกเรียกเก็บ ณ วันที่มีการดำเนินการโอนจริงที่สำนักงานที่ดิน
โดยทั่วไปแล้ว ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินจะคำนวณจาก ‘ราคาประเมินทุนทรัพย์’ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่กรมธนารักษ์กำหนด หรือราคาซื้อขายจริง แล้วแต่กรณีใดจะสูงกว่า และค่าอื่น ๆ เช่น ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าภาษีเงินได้ หรือค่าจดจำนอง เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว เพราะแต่ละลักษณะของการโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย การให้ลูก การรับมรดก หรือโอนให้ญาติ ล้วนมีอัตราค่าธรรมเนียม ภาษี และค่าใช้จ่ายแฝงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้โอนและผู้รับโอน รวมถึงสถานะของผู้โอนว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล การเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวางแผนและเตรียมเงินค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ ลดความผิดพลาด และป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดในวันโอนกรรมสิทธิ์จริง
โดยทั่วไปแล้วจะคิดเป็น 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน โดยใช้สูตร
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน = ราคาประเมินที่ดิน x 2%
ตัวอย่าง: ราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 1,400,000 บาท ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน = 1,400,000 x 2% = 28,000 บาท
หากผู้ซื้อมีการกู้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อมาซื้อบ้านหรือที่ดิน จะต้องคิดค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง
ค่าจดจำนอง = จำนวนเงินกู้ x 1%
ตัวอย่าง: กู้เงินมาซื้อที่ดิน 1,400,000 บาท ค่าจดจำนอง = 1,400,000 x 1% = 14,000 บาท
สาระน่ารู้ก่อนกู้ซื้อบ้าน: อัปเดตดอกเบี้ยบ้าน 2568 ทุกธนาคาร เปรียบเทียบข้อเสนอที่ดีที่สุด
โดยทั่วไปแล้วจะคิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อ-ขายตามที่ตกลงกันไว้ หากราคาซื้อ-ขายมีมูลค่าต่ำกว่าราคาประเมิน ต้องใช้ราคาประเมินที่ดินในการคำนวณ
ค่าอากรแสตมป์ = ราคาซื้อ-ขาย หรือ ราคาประเมินที่ดิน x 0.5%
ตัวอย่าง: ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2,000,000 บาท ราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 2,300,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ = 2,300,000 x 0.5% = 11,500 บาท
โดยทั่วไปแล้วจะคิดเป็น 3.3% ของราคาซื้อ-ขายตามที่ตกลงกันไว้ หากราคาซื้อ-ขายมีมูลค่าต่ำกว่าราคาประเมิน ต้องใช้ราคาประเมินที่ดินในการคำนวณ
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ = ราคาซื้อ-ขาย หรือ ราคาประเมินที่ดิน x 3.3%
ตัวอย่าง: ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2,000,000 บาท ราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 2,300,000 บาท ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ = 2,300,000 x 3.3% = 75,900 บาท
เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมโอนที่ดินแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
การชำระค่าธรรมเนียมโอนที่ดินสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
บทความอื่น ๆ ที่คุณน่าจะสนใจ: รีไฟแนนซ์คืออะไร ทำไมคนซื้อบ้านต้องรู้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินในปี 2568 มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ของผู้โอนและผู้รับโอน การศึกษาข้อมูลล่วงหน้าไม่เพียงช่วยให้วางแผนค่าใช้จ่ายได้ชัดเจน แต่ยังช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมายหรือความล่าช้าในขั้นตอนการดำเนินการ สำหรับผู้ที่วางแผนซื้อขายหรือโอนทรัพย์สิน ควรตรวจสอบกับกรมที่ดินในพื้นที่เพื่อความถูกต้องเสมอ
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้คำแนะนำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
Brickpaths พร้อมเป็นตัวช่วยให้การซื้อ-ขายและเช่าอสังหาฯ ให้เป็นเรื่องง่าย สามารถดำเนินธุรกรรมอสังหาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยฟีเจอร์ Financial Analysis ที่สามารถวิเคราะห์ทางการเงินได้อย่างชาญฉลาด ช่วยให้คุณสามารถคำนวณ ประเมินต้นทุน และคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนอสังหาฯ ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้การตัดสินใจลงทุนของคุณมีความแม่นยำและมั่นใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมี Automation Presentation ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างหลากหลาย คัดกรองผู้เช่าที่มีศักยภาพ และเพิ่มโอกาสในการขายให้กับนักลงทุนได้มากขึ้น
ติดต่อเราได้ที่
Line: @brickpaths
Facebook: Brickpaths
Website: www.brickpaths.com
Tel: 091-419-1456
422/33 ซอย อ่อนนุช 17 แยก 16
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250