ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่มีผลกระทบต่อทั้งเจ้าของบ้าน ที่ดิน ผู้ประกอบธุรกิจ และนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถูกนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินอย่างแท้จริง โดยภาษีนี้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ปี 2568
การทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2568 จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถวางแผนการเงิน และปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ลดความเสี่ยงการเสียค่าปรับและดอกเบี้ย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของหรือผู้ที่ครอบครองที่ดิน อาคาร บ้านพักอาศัย รวมถึงสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น คอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยต้องจ่ายให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี มีจุดประสงค์เพื่อนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยทิ้งรกร้าง
แล้วดอกเบี้ยบ้านคืออะไร?: อัปเดตดอกเบี้ยบ้าน 2568 ทุกธนาคาร เปรียบเทียบข้อเสนอที่ดีที่สุด
การกำหนดว่าใครมีหน้าที่ต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น จะพิจารณาจากสถานะความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งระบุไว้ในโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ออกเป็น 4 ประเภทหลัก โดยแต่ละประเภทมีอัตราภาษีแตกต่างกัน ดังนี้
ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ใช้ในการทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และกิจการอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มีอัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.01% และสูงสุดไม่เกิน 0.1% ขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สิน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
มูลค่าที่ดิน | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | ได้รับการยกเว้นภาษี |
50 - 125 ล้านบาท | 0.01% |
125 - 150 ล้านบาท | 0.03% |
150 - 550 ล้านบาท | 0.05% |
555 - 1,050 ล้านบาท | 0.07% |
1,050 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
มูลค่าที่ดิน | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 75 ล้านบาท | 0.01% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.03% |
100 - 500 ล้านบาท | 0.05% |
500 - 1,000 ล้านบาท | 0.05% |
1,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย**** ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าของเอง หรือบุคคลในครอบครัว มีอัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.02% – 0.1% ขึ้นอยู่กับมูลค่าบ้านและที่ดินรวมกัน โดยมีการแบ่งประเภทตามมาตราดังต่อไปนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | ได้รับการยกเว้นภาษี |
50 - 75 ล้านบาท | 0.03% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.05% |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 10 ล้านบาท | ได้รับการยกเว้นภาษี |
10 - 50 ล้านบาท | 0.02% |
50 - 75 ล้านบาท | 0.03% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.05% |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี |
---|---|
10 - 50 ล้านบาท | 0.02% |
50 - 75 ล้านบาท | 0.03% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.05% |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
เป็นเจ้าของบ้านหลายหลัง สามารถลดหย่อนภาษีได้ไหม?: ผ่อนบ้านลดหย่อนภาษี ต้องมีการเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ภาษีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ใช้ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างร้าน โรงงาน โกดังสินค้า หอพัก โดยมีอัตราภาษีเริ่มต้นตั้งแต่ 0.3% – 0.7% ตามช่วงมูลค่าทรัพย์สิน ไม่มีสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อน
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | 0.3% |
50 - 200 ล้านบาท | 0.4% |
200 - 1,000 ล้านบาท | 0.5% |
1,000 - 5,000 ล้านบาท | 0.6% |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% |
ภาษีที่ดินว่างเปล่า สำหรับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ หรือปล่อยรกร้าง มีอัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.3% – 0.7% เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปใช้ประโยชน์
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษี |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | 0.3% |
50 - 200 ล้านบาท | 0.4% |
200 - 1,000 ล้านบาท | 0.5% |
1,000 - 5,000 ล้านบาท | 0.6% |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% |
สำหรับคำที่กำลังสงสัยว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีวิธีการคิดยังไง สามารถใช้สูตรคำนวณตามประเภททรัพย์สินที่ครอบครองได้เลย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี (%)
ตัวอย่าง: นาย A เป็นผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม มีที่ดินว่างเปล่ามูลค่า 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01%
ภาษีที่ต้องจ่าย = 100,000,000 x 0.01% = 10,000 บาท
ภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี (%)
ตัวอย่าง: นาย B เป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 40 ล้านบาท พร้อมบ้านมูลค่า 20 ล้านบาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = (40,000,000 + 20,000,000) = 60,000,000 x 0.03% = 18,000 บาท
ภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี (%)
ตัวอย่าง: นาง C เป็นเจ้าห้องชุดมูลค่า 15 ล้านบาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = 15,000,000 x 0.02% = 3,000 บาท
แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเป็นภาษีที่เรียกเก็บเป็นประจำทุกปี แต่ยังคงมีเจ้าของทรัพย์สินจำนวนไม่น้อยที่ละเลยหรือไม่ทราบถึงหน้าที่ในการชำระภาษีดังกล่าว ซึ่งการละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอาจนำไปสู่ผลกระทบทางกฎหมาย ทั้งทางแพ่งและอาญา รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น ในหัวข้อนี้จะสรุปให้เข้าใจง่ายว่า หากละเลยหน้าที่นี้จะมีบทลงโทษใดบ้าง
บทความน่ารู้อื่น ๆ: รีไฟแนนซ์ คืออะไร ทำไมคนซื้อบ้านต้องรู้
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 เป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐในการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินในประเทศไทย เจ้าของทรัพย์สินจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในอัตราภาษี ประเภทการใช้ประโยชน์ และสิทธิ์ในการยกเว้นหรือขอลดหย่อน เพื่อให้สามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างรอบคอบ และหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับหรือดำเนินคดีในภายหลัง
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้คำแนะนำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
Brickpaths เป็นเว็บไซต์ประกาศอสังหาริมทรัพย์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาบ้านหรือคอนโดสำหรับเช่าหรือซื้อ หรือกำลังต้องการลงประกาศขายทรัพย์สินของคุณ Brickpaths ช่วยให้ทุกขั้นตอนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว ด้วยระบบที่มีความเป็นมืออาชีพ รองรับการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง และเพิ่มโอกาสในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เรายังมี ฟีเจอร์ Financial Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนแบบเรียลไทม์ ช่วยคำนวณกระแสเงินสด วิเคราะห์ต้นทุน และประเมินอัตราผลตอบแทน ทำให้คุณสามารถวางแผนและตัดสินใจลงทุนได้อย่างแม่นยำ พร้อมลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ติดต่อเราได้ที่
Line: @Brickpaths
Facebook: Brickpaths
Website: www.brickpaths.com
Tel: 091-419-1456
422/33 ซอย อ่อนนุช 17 แยก 16
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250