การไหว้พระภูมิและเจ้าที่เป็นหนึ่งในความเชื่อสำคัญของชาวไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ชาวไทยเชื่อว่าพระภูมิและเจ้าที่คือวิญญาณผู้คุ้มครองบ้านเรือน พื้นที่ ที่ดิน รวมถึงกิจการร้านค้า หากได้รับการบูชาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะช่วยคุ้มครองผู้อยู่อาศัยให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา และทำให้กิจการเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคง
การสักการะพระภูมิและเจ้าที่จึงควรทำด้วยความตั้งใจจริง ความเคารพ ศึกษาคาถาไหว้เจ้าที่และวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลดีทั้งด้านพลังจิตใจและความเป็นสิริมงคลในชีวิตประจำวันอย่างสูงสุด
ศาลพระภูมิ คือ ศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อบูชา ‘พระภูมิ’ เทพผู้ดูแลดินและที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปมีเสาเดียว เรียกว่า 'เสาศาล’ มีหลังคา และมักมีองค์พระภูมิหรือเทวดาประจำทิศประดิษฐานอยู่ภายใน เชื่อกันว่าศาลพระภูมิจะช่วยปกปักรักษาบ้าน และนำพาความสงบสุขมาให้กับผู้อยู่อาศัย
ศาลเจ้าที่ หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ศาลตายาย’ เป็นศาลที่สร้างเพื่อให้ดวงวิญญาณเจ้าที่เจ้าทาง หรือวิญญาณบรรพบุรุษที่ดูแลพื้นที่อยู่อาศัยได้มีที่สถิต เชื่อกันว่าศาลเจ้าที่จะช่วยดูแล และคุ้มครองผู้อยู่อาศัย
การไหว้พระภูมิเจ้าที่ไม่เพียงแต่เป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของบ้านกับพลังงานที่มองไม่เห็น ซึ่งมีผลต่อพลังงานโดยรวมของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพลังแห่งความสงบ ความอบอุ่น หรือแม้แต่พลังแห่งการดึงดูดโชคลาภและความเมตตาจากผู้คนภายนอก
นอกจากการท่องคาถาไหว้เจ้าที่และพระภูมิที่ถูกต้องแล้ว การรู้ว่าไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอกก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสื่อถึงการให้เกียรติและความหมายในทางจิตวิญญาณ
เลือกวันไหว้พระภูมิเจ้าที่หรับบ้านใหม่: ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ 2568 เสริมสิริมงคลให้แก่ผู้อยู่อาศัย
สำหรับคาถาไหว้พระภูมิ จะเริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม 3 จบก่อนเสมอ เพื่อเป็นการนมัสการพระพุทธเจ้าตามหลักศาสนาพุธ
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ”(3 จบ)
จากนั้นจึงสวดคาถาไหว้พระภูมิ ซึ่งมีด้วยกันหลายบท ได้แก่
“ภูมมัสมิง ทิสาภาเค สันติภูมมา มหิทธิกา เตปิตุมเห อนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะจะ”(3 จบ)
“สิโรเม ขอเดชะ พระภูมิเทวารักษาที่รับพระพรจากเจ้ากรุงพาลี ให้วัฒนาถาวรสิ่งสุขแด่ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ให้ (คำอธิษฐาน) มั่งมีเงินทองและทรัพย์พัสดุข้าวของเนืองนอง โสตถิ ชัยยะ ภะวันตุ เม”
สำหรับคาถาไหว้เจ้าที่ จะเริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม 3 จบก่อนเสมอเช่นกัน เพื่อเป็นการนมัสการพระพุทธเจ้าตามหลักศาสนาพุธ
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ”(3 จบ)
จากนั้นจึงสวดคาถาไหว้เจ้าที่ ซึ่งมีด้วยกันหลายบท ได้แก่
“ตา-ยาย ยัสมิง ทิสาภาเค สันติ ตายายเทวา มหิทธิกา เตปิตุมเห อนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะจะ” (3 จบ)
“สิโรเม ขอเดชะ ตายายเทวา เจ้าของที่ ขอให้ช่วยดูแลคุ้มครองรักษาบ้านเรือน (ชื่อสถานที่) และข้าพเจ้าผู้อยู่อาศัยในสถานที่นี้ (คำอธิษฐาน) โสตถิ ชัยยะ ภะวันตุ เม”
“เจ้าที่ เทวดานัง ปิยะสุตวา มหาลาโภ ประสิทธิลาภา ประสันนะจิตตาศรีทาสุตถี พระวันตุเมฯ ขอบารมี พระภูมิเจ้าที่เจ้าทาง บัดนี้ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ขอจุดธูปเพื่อสักการะเทพ 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน จงเปิดทางทรัพย์ ให้ตลอดทั้งวันนี้ข้าพเจ้าได้รับข่าวดี ค้าขายร่ำรวย ตลอดทั้งวันด้วยเทอญ”
หลังจากทำการสวดคาถาไหว้เจ้าที่และถวายของไหว้แล้ว เมื่อครบตามเวลา (สามารถทำได้หลังจากที่ธูปหมดดอก) ควรกล่าวบทสวดลาของไหว้อย่างสุภาพ เพื่อเป็นการขออนุญาตเก็บของไหว้กลับมา ไม่ใช่การนำกลับมาโดยพลการ
“อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตุเปกขายุทธายะโว ทิสสา วินะติ อะเสสะโตฯ”
หรือ
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” (3 จบ)
“เสสังมังคะลัง ยาจามิ”
การสักการะและถวายอาหารหรือผลไม้แก่พระภูมิเจ้าที่ ควรให้ความเคารพและใส่ใจในรายละเอียด โดยเฉพาะการเลือกของที่เป็นมงคลและเหมาะสมตามหลักความเชื่อไทย
ของดิบ: ห้ามถวาย เช่น เนื้อดิบ ปลาไม่ปรุงสุก ไข่ดิบ ฯลฯ เพราะเชื่อว่าเป็นของที่ยังไม่บริสุทธิ์ และไม่เหมาะกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ผลไม้ที่ชื่อไม่เป็นมงคล:
การไหว้พระภูมิเจ้าที่เป็นประเพณีไทยที่ช่วยส่งเสริมความมั่นใจทางใจและเป็นพลังเสริมทางจิตวิญญาณ โดยควรให้ความเคารพทั้งในพิธีกรรมและความตั้งใจ การเลือกของไหว้ การใช้คาถาไหว้เจ้าที่ และการจุดธูปให้ถูกต้องเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองและความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านของชีวิต
422/33 Onnut Soi 17/16
Suan Luang, Suan Luang
Bangkok 10250, THAILAND