422/33 Onnut Soi 17/16
Suan Luang, Suan Luang
Bangkok 10250, THAILAND
การจำนอง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราได้เงินก้อนมาใช้งานในยามคับขัน ขอเพียงแค่เรามีทรัพย์สินอยู่ในมือ ก็สามารถนำไปแลกเป็นเงินก้อนมาใช้งานได้แล้ว แต่มันจะง่ายขนาดนั้นจริง ๆ หรอ ในวันนี้ Brickpaths จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับหลักเกณฑ์ในการจำนอง ว่าจะต้องมีอะไร และมีข้อจำกัดขนาดไหนบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย
หลักเกณฑ์ในการจำนอง คือข้อกำหนดที่จะบ่งบอกถึงการทำสัญญาจำนองที่เราจะต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้การทำสัญญาของแต่ละฝั่งนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีส่วนใดที่ถูกใช้เพื่อเอาเปรียบอีกฝ่ายได้ ซึ่งหลักเกณฑ์การทำสัญญาจำนองนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันตามนี้
สำหรับหลักเกณฑ์ในการจำนองหลัก ๆ นั้นจะมีอยู่ด้วยกันตามนี้
นอกจากหลักเกณฑ์การทำสัญญาจำนองตามด้านบนแล้ว สัญญาจำนองจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
ทรัพย์สินที่สามารถจำนองได้ ตามหลักเกณฑ์ในการจำนองนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ตามหลักเกณฑ์การทำสัญญาจำนองนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดระยะเวลาว่าสามารถทำได้ถึงกี่ปี แต่ในสัญญาจะต้องมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ ผู้จำนองและลูกหนี้ก็สามารถชำระหนี้ได้ตลอดเวลา แต่กลับกัน ผู้รับจำนองก็สามารถบังคับจำนองได้ทันทีที่ผู้จำนองไม่ชำระหนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ จะช่วยให้ทั้งสองฝั่ง สามารถวางแผนการชำระหนี้ หรือฟ้องร้องได้อย่างเป็นแบบแผนมากขึ้น
สำหรับบุคคลที่จะเป็นผู้จำนองและผู้รับจำนองนั้น ตามกฎหมายก็มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำนอง และสิทธิของทั้งสองฝั่งด้วยเช่นกัน ว่าสามารถทำอะไรได้ - ไม่ได้บ้าง
ตามหลักเกณฑ์ในการจำนองนั้น สิทธิ์ของผู้จำนองคือ หลังจากการทำสัญญาจำนองแล้ว ผู้จำนองจะยังมีกรรมสิทธิ์และเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นต่อไป สามารถครอบครอง และหาประโยชน์จากทรัพย์สินต่อได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้น ๆ ให้เจ้าหนี้หรือผู้รับจำนอง หรือจนกว่าจะมีการฟ้องร้องบังคับคดีเกิดขี้น
ตามหลักเกณฑ์ในการจำนองนั้น ผู้รับจำนองจะมีสิทธิ์ในการได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่จำนอง ก่อนเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ หากมีการบังคับจำนองขึ้นมา ผู้รับจำนองจะได้รับผลประโยชน์จากการขายทอดตลาดหรือยึดทรัพย์ที่จำนองไว้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ๆ เสมอ แต่หากมีเจ้าหนี้ที่ทำสัญญาจำนอง กับทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน ก็ให้เรียงลำดับการได้รับผลประโยชน์ก่อนหลัง ตามวันเวลาที่ทำการจดจำนอง และผู้รับจำนอง จะมีสิทธิ์ในการชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง ถึงแม้ว่าทรัพย์สินจะถูกโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วก็ตาม และผู้รับจำนอง ก็มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ด้วยเช่นกัน
และหากมีการขาดชำระหนี้ขึ้นมา ตามหลักเกณฑ์ในการจำนองแล้ว หากต้องการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนอง ผู้รับจำนองจะต้องทำหนังสือแจ้งเตือนลูกหนี้ล่วงหน้าก่อน 60 วัน หากลูกหนี้ยังไม่มาชำระหนี้ตามระยะเวลาได้อีก ผู้รับจำนองจึงจะสามารถฟ้องร้องได้ โดยการบังคับจำนองนั้น จะทำให้ทรัพย์สินที่จดจำนองอยู่ถูกยึด และถูกบังคับขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก้เจ้าหนี้ หรือผู้รับจำนองจะยึดเอาทรัพย์มาเป็นของตนเองก็ได้ แต่จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
และทั้งหมดนี้ ก็คือหลักเกณฑ์ในการจำนอง ที่นักลงทุนอสังหาฯ ทุกคนต้องรู้ บอกเลยว่า ถึงการจำนองนั้นดูเหมือนจะได้เงินง่าย ๆ แต่ก็มีหลักการที่ต้องปฏิบัติตามอยู่ไม่น้อย แต่ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ที่สมดุลกันของทั้งสองฝั่งเท่านั้น และสุดท้ายนี้ การจำนองและการลงทุนอื่น ๆ ล้วนมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้น ก่อนจะทำอะไร ก็ควรที่จะศึกษาให้ดีก่อนจะทำการลงทุนทุกครั้งด้วย ส่วนบทความหน้า จะมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง รอติดตามกันได้เลย